Thursday, August 21, 2008

Why Folic Acid 's so important for pregnancy ทำไมต้องเสริม กรด โฟลิกก่อนตั้งครรภ์



Having a healthy baby means making sure you're healthy, too. One of the most important things you can do to help prevent serious birth defects in your baby is to get enough folic acid every day - especially before conception and during early pregnancy.
What Is Folic Acid?
Folic acid, sometimes called folate, is a B vitamin (B9) found mostly in leafy green vegetables like kale and spinach, orange juice, and enriched grains. Repeated studies have shown that women who get 400 micrograms (0.4 milligrams) daily prior to conception and during early pregnancy reduce the risk that their baby will be born with a serious neural tube defect (a birth defect involving incomplete development of the brain and spinal cord) by up to 70%.
The most common neural tube defects are
spina bifida (an incomplete closure of the spinal cord and spinal column), anencephaly (severe underdevelopment of the brain), and encephalocele (when brain tissue protrudes out to the skin from an abnormal opening in the skull). All of these defects occur during the first 28 days of pregnancy - usually before a woman even knows she's pregnant.
That's why it's so important for all women of childbearing age to get enough folic acid - not just those who are planning to become pregnant. Only 50% of pregnancies are planned, so any woman who could become pregnant should make sure she's getting enough folic acid.
Doctors and scientists still aren't completely sure why folic acid has such a profound effect on the prevention of neural tube defects, but they do know that this vitamin is crucial in the development of
DNA. As a result, folic acid plays a large role in cell growth and development, as well as tissue formation.


Getting Enough Folic Acid
The U.S. Centers for Disease Control and Prevention (CDC) recommends that all women of childbearing age - and especially those who are planning a pregnancy - consume about 400 micrograms (0.4 milligrams) of folic acid every day. Adequate folic acid intake is very important 1 month before conception and at least 3 months afterward to potentially reduce the risk of having a fetus with a neural tube defect.


So, how can you make sure you're getting enough folic acid? In 1998, the Food and Drug Administration mandated that folic acid be added to enriched grain products - so you can boost your intake by looking for breakfast cereals, breads, pastas, and rice containing 100% of the recommended daily folic acid allowance. But for most women, eating fortified foods isn't enough. To reach the recommended daily level, you'll probably need a vitamin supplement.
During pregnancy, you require more of all of the essential nutrients than you did before you became pregnant. Although prenatal vitamins shouldn't replace a well-balanced diet, taking them can give your body - and, therefore, your baby - an added boost of vitamins and minerals. Some health care providers even recommend taking a folic acid supplement in addition to your regular prenatal vitamin. Talk to your doctor about your daily folic acid intake and ask whether he or she recommends a prescription supplement, an over-the-counter brand, or both.
Also talk to your doctor if you've already had a pregnancy that was affected by a neural tube defect. He or she may recommend that you increase your daily intake of folic acid (even before getting pregnant) to lower your risk of having another occurrence.

Reviewed by: Serdar Ural, MDDate reviewed: October 2004

KidsHealth





กรดโฟลิกหรืออีกชื่อหนึ่งที่ใช้เรียกกันทั่วไปว่า "โฟเลต" จัดเป็นวิตามินชนิดหนึ่งในกลุ่มที่ละลายในน้ำ ในร่างกายกรดโฟลิกมีบทบาทสำคัญเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ ซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของเซลล์ต่างๆ และมีบทบาทในการสร้างสาคาร์บอน ซึ่งเป็นกลไกการทำงานของดีเอ็นเอในการถ่ายทอดคำสั่งทางพันธุกรรม เพื่อสร้างโปรตีนชนิดต่างๆ รวมทั้งการควบคุมการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกเมื่อตั้งครรภ์…โฟลิกกลับลดลงภายหลังการปฏิสนธิโดยการผสมของไข่จากแม่และสเปิร์มจากพ่อ จะเกิดเป็นเซลล์ที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์ของสารพันธุกรรม หลังจากนั้นเซลล์เซลล์เดียวจะมีการแบ่งตัวเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ พร้อมกับการก่อรูปของอวัยวะระบบต่างๆ จนเป็นทารกที่สมบูรณ์ การตั้งครรภ์จึงต้องมีการสร้างสายดีเอ็นเอและโปรตีนเพื่อเป็นองค์ประกอบของเซลล์ และเนื้อเยื่อของระบบต่างๆ จำนวนมาก ดังนั้นจึงมีความต้องการกรดโฟลิกเพิ่มมากขึ้น คิดเป็นจำนวนประมาณ 2 เท่าของคนปกติในขณะที่ร่างกายต้องการกรดโฟลิกมากขึ้น กลับพบว่าระหว่างตั้งครรภ์ลำไส้ สามารถดูดซึมกรดโฟลิกจากอาหารได้ลดลง และมีการสูญเสียกรดโฟลิกทางปัสสาวะมากกว่าปกติ ทำให้พบการขาดกรดโฟลิกในสตรีตั้งครรภ์ได้สูงกว่าคนปกติทั่วไปในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา วงการแพทย์และวงการโภชนาการ ให้ความสนใจกรดโฟลิกนี้มาก เนื่องจากมีรายงานการศึกษาโดยการตรวจหาระดับกรดโฟลิกในเลือดของมารดาที่ตั้งครรภ์ พบว่ามีมารดาที่มีระดับกรดโฟลิกในเลือดต่ำได้ถึงร้อยละ 25 ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติ ของพัฒนาการของสมองและระบบประสาทของทารก เพราะในภาวะปกติสมอง และระบบประสาทจะพัฒนาโดยเริ่มจากแผ่นเนื้อเยื่อระบบประสาทแล้วม้วนตัวเป็นท่อเรียกว่า หลอดประสาท ซึ่งมีสองปลายต่อมาปลายหลอดประสาททั้งสองจะปิด โดยปลายท่อด้านหัวจะพัฒนาเป็นส่วนของสมอง ส่วนปลายด้านหางจะพัฒนาเป็นประสาทไขสันหลัง ในกรณีที่มารดามีระดับกรดโฟลิกในเลือดต่ำ จะมีผลทำให้ปลายท่อหลอดประสาททั้ง 2 ด้านไม่ปิด จึงเกิดความพิการของสมองและประสาทไขสันหลัง ซึ่งมีความรุนแรงได้แตกต่างกันหลายระดับ
ทารกที่ขาด "โฟลิก"ในรายที่เป็นมากจะทำให้ทารกคลอดออกมาโดยไม่มีเนื้อสมอง จึงไม่สามารถมีชีวิตรอดอยู่ได้ จะเสียชีวิตในเวลาไม่นานหลังคลอดส่วนรายที่เป็นน้อยจะพบความพิการของประสาทไขสันหลัง โดยการเกิดความผิดปกติดังกล่าวมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องร่วมด้วยปัจจัยสำคัญได้แก่ การมีความผิดปกติที่บางตำแหน่งของยีน ซึ่งซ่อนอยู่ในประชากรทั่วไปได้ระหว่างร้อยละ 5-25 ความผิดปกตินี้จะไม่แสดงอาการใดๆ แต่มีผลต่อเมตาบอลิซึมของกรดโฟลิกในร่างกาย ทำให้มีสารโฮโมซีสทีนในเลือดสูงขึ้น และมีกรดโฟลิกต่ำลงนอกจากนี้อาจมีปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม เช่น การได้รับความร้อนในระยะเวลาสั้นๆ จากการเป็นไข้ การประคบด้วยกระเป๋าน้ำร้อนหรืออบซาวน่า รวมทั้งการได้รับยาป้องกันโรคลมชักบางชนิด ซึ่งมารดาที่มีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้หากได้รับกรดโฟลิกเพิ่มจากอาหารปกติอีกวันละ 400 ไมโครกรัม ในรูปของยาหรืออาหารที่เสริมด้วยกรดโฟลิกจะสามารถป้องกันหรือลดการเกิดความพิการดังกล่าวได้
ทำไมต้องเสริมโฟลิกก่อนตั้งครรภ์
เนื่องจากพัฒนาการของสมองและระบบประสาทเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องภายหลังการปฏิสนธิ โดยหลอดประสาทจะปิดอย่างสมบูรณ์ในระหว่างสัปดาห์ที่ 3-4 หลังการปฏิสนธิ (วันที่ 21-28) ซึ่งปกติกว่าที่แม่จะรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ โดยสังเกตจากประจำเดือนไม่มาตามกำหนด แล้วจึงไปพบแพทย์ก็ล่วงเข้าสัปดาห์ที่ 3 เป็นอย่างเร็วที่สุด การเริ่มรับประทานกรดโฟลิกในระยะนี้จึงไม่ทันการณ์ดังนั้นหากจะให้ได้ผลจริงๆ จะต้องเริ่มรับประทานกรดโฟลิกก่อนตั้งครรภ์ประมาณ 1-3 เดือน เป็นอย่างน้อย และถ้าจะให้ครอบคลุมถึงการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้มีการวางแผนล่วงหน้าให้ครบถ้วนด้วย จะต้องแนะนำให้สตรีวัยเจริญพันธุ์ทุกคนรับประทานกรดโฟลิกเพิ่มทุกวันเป็นประจำในประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งมีอุบัติการณ์ของโรคสมองพิการแต่กำเนิดมากประเทศหนึ่ง ได้รณรงค์ให้สตรีวัยเจริญพันธุ์รับประทานกรดโฟลิกเพิ่มวันละ 400 ไมโครกรัม ในรูปของยาเม็ดหรืออาหารที่เสริมด้วยกรดโฟลิกมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีแล้ว และพบว่าสามารถลดการเกิดความพิการของสมองได้อย่างมีนัยสำคัญ แม้จะมีผู้ที่ทำตามคำแนะนำอย่างครบถ้วนเพียงร้อยละ 30 ก็ตามนอจากนี้ยังพบว่าการรับประทานกรดโฟลิกยังช่วยป้องกันหรือลดความพิการของอวัยวะระบบอื่นๆ เช่น ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ และโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ทั้งช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ เช่น ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด ภาวะการแท้งบุตร และภาวะครรภ์เป็นพิษด้วยความจริงกรดโฟลิกมีในอาหารที่เรารับประทานเป็นประจำ โดยพบมากใน ผักใบเขียว ถั่วลันเตา ตับและผลไม้บางชนิด
ปริมาณกรดโฟลิกในอาหารชนิดต่างๆ
คะน้า (ดิบ) คะน้า (สุก) กระหล่ำปลี (ดิบ) กระหล่ำปลี (สุก)กระหล่ำดอก (ดิบ) กระหล่ำดอก (สุก) ปวยเล้ง (ดิบ) ปวยเล้ง (สุก) ผักกาดหอม (ดิบ) ผักบร็อกโคลี (ดิบ) ผักบร็อกโคลี (สุก) หน่อไม้ฝรั่ง (ดิบ) หน่อไม้ฝรั่ง (สุก) ถั่วลันเตา (ดิบ) ถั่วลันเตา (สุก) น้ำส้ม ตับหมู (3 ออนซ์) ตับไก่ (ชิ้น)ความต่างของ "โฟลิก" ในรูปอาหารกับรูปยาเม็ดเนื่องจากกรดโฟลิกเป็นวิตามินที่ถูกทำลายได้ด้วยความร้อน ดังนั้นเมื่อปรุงอาหารโดยใช้ความร้อน จะทำให้มีการสูญเสียกรดโฟลิกได้ตั้งแต่ร้อยละ 50-95 นอกจากนี้กรดโฟลิกที่มีในอาหารจะถูกดูดซึมได้น้อยกว่า (ประมาณร้อยละ 50) เมื่อเทียบกับกรดโฟลิกที่รับประทานในรูปของยาเม็ด ดังนั้นแม้ผู้ที่ตั้งครรภ์จะได้รับประทานอาหารเหล่านี้เป็นประจำอยู่แล้ว ก็ยังมีโอกาสที่จะเกิดการขาดกรดโฟลิกได้ ยิ่งผู้ที่มียีนผิดปกติแฝงอยู่ ยิ่งมีความจำเป็นต้องได้รับกรดโฟลิกมากขึ้นเป็นพิเศษกว่าคนทั่วไป
สำหรับในบ้านเรา แม้จะพบความพิการทางสมองในทารกแรกเกิดและมีผู้ที่มียีนผิดปกติแฝงอยู่ได้ แม้ไม่สูงเท่าประชากรในประเทศทางตะวันตก แต่ก็ควรรับประทานกรดโฟลิกเพิ่มวันละ 400 ไมโครกรัม เช่นเดียวกัน ซึ่งกรดโฟลิกชนิดเม็ดที่มีจำหน่ายมี 2 ขนาด คือ 1 มิลลิกรัม และ 5 มิลลิกรัม ซึ่งหากใช้ขนาด 1 มิลลิกรัม ก็รับประทานวันละครึ่งเม็ด แต่หากเป็นขนาด 5 มิลลิกรัม ให้รับประทานเพียงวันละ 1/10 เม็ด"โฟลิก" ชนิดเม็ด แค่ไหนไม่อันตรายโดยทั่วไปกรดโฟลิกเป็นยาที่มีความปลอดภัยสูง จะมีข้อควรระวังเฉพาะในผู้ที่รับประทานอาหารมังสวิรัติ ซึ่งมีโอกาสเกิดภาวะซีดและปลายประสาทอักเสบจากการขาดวิตามินบี 12 การรับประทานกรดโฟลิกในขนาดสูงๆ จะทำให้บดบังอาการ และทำให้การวินิจฉัยโรคล่าช้า จนเกิดการทำลายของปลายประสาทอย่างถาวรได้อย่างไรก็ตามเพื่อความปลอดภัยขอแนะนำให้รับประทานกรดโฟลิกไม่เกินวันละ 1 มิลลิกรัม (10,000 ไมโครกรัม) สำหรับท่านที่ไม่ชอบรับประทานยา การเพิ่มการรับประทานอาหารที่มีกรดโฟลิกสูงแทนยาเม็ด อาจไม่ได้ผลดีเท่าที่ควรเนื่องจากเหตุผลดังที่ได้กล่าวมาแล้ว และในบ้านเรายังไม่มีผัก หรือธัญพืชที่เสริมด้วยกรดโฟลิกจำหน่าย ดังนั้นการรับประทานกรดโฟลิกในรูปยาเม็ดยังเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในปัจจุบัน
ที่มา.. นิตยสารรักลูก ปีที่ 21 ฉบับที่ 245 มิถุนายน 2546