ภาวะตัวเหลืองในทารกเกิดจากการที่ร่างกายมีสารสีเหลืองในกระแสเลือดมากกว่าปกติ โดยอาจมีสาเหตุมาจากมีก้อนโนในเลือด (ที่ศีรษะ) มีเลือดแดงมากกว่าปกติ น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม มีเม็ดเลือดแดงแตกง่าย มีกรุ๊ปเลือดที่ไม่เข้ากับแม่ เกิดจากแม่ที่ได้รับยาเร่งคลอด ทารกถ่ายขี้เทาช้าเกินไป ฯลฯ
ทั้งนี้ชนิดของภาวะตัวเหลืองแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ ชนิดปกติและชนิดผิดปกติ โดยทั่วไปภาวะตัวเหลืองชนิดผิดปกติจะเกิดขึ้นใน 24 ชั่วโมงหลังคลอดและมักจะเหลืองนานเกินสัปดาห์ ซึ่งต้องได้รับการรักษาโดยด่วน เพราะหากไม่ได้รับการรักษาทารกจะชักและอาจเสียชีวิต หรือถ้าไม่เสียชีวิตก็จะทำให้ปัญญาอ่อนได้
การรักษาภาวะตัวเหลืองในทารกที่นิยมในปัจจุบัน คือ “คือการส่องไฟ” โดยจะนำทารกส่องไฟ 3 ชั่วโมง พัก 1 ชั่วโมง สลับกันไป อาจใช้เวลารักษานาน 7-10 วัน ขณะส่องไฟจะต้องถอดเสื้อผ้าทารกออก เพื่อให้ผิวหนังสัมผัสแสงโดยตรง ที่สำคัญคือต้องปิดตาทารก เพื่อป้องกันแสงทำอันตรายต่อตา และการรักษาด้วยไฟส่องนี้อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น มีไข้ ถ่ายอุจจาระเหลว ตาแฉะ ผิวหนังแห้ง ลอก แตกหรือมีผื่นขึ้น ผิวหนังเป็นสีเทาเงิน และถ้าเป็นเพศชายองคชาตอาจชี้หรือแข็งตัวเสมอๆ และอาการเหล่านี้จะหายไปเมื่อเลิกส่องไห แต่มารดาก็สามารถช่วยให้บุตรหายเร็วขึ้นด้วยการให้นมแม่ ซึ่งจะทำให้ทารกขับถ่ายสารสีเหลืองออกมาทางอุจจาระ การได้นมเพียงพอจะลดอาการแทรกซ้อนดังกล่าวข้างต้น เมื่อกลับบ้าน มารดาควรเลี้ยงดูบุตรเช่นเดียวกับทารกปกติทั่วไป โดยช่วงเช้าๆ อาจนำบุตรออกไปรับแสงแดดอ่อนๆ ประมาณ 20-30 นาที ก็จะช่วยให้ผิวสีเหลืองจางเร็วขึ้น ส่วนความเข้าใจที่ว่าการให้ทารกดูดน้ำมากๆ จะช่วยให้หายตัวเหลืองนั้นเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะสารสีเหลืองไม่สามารถละลายในน้ำได้ น้ำจึงไม่ใช่สิ่งที่จะช่วยรักษาภาวะตัวเหลืองภาวะตัวเหลืองของทารกสามารถหายเป็นปกติได้ ถ้าได้รับการรักษาทันเวลาและดูแลอย่างถูกต้อง
ที่มา : รศ. ลาวัณย์ ผลสมภพ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
No comments:
Post a Comment